การทำโครงงานต้องทำโครงงาน
ขั้นตอนการจัดทำโครงงาน : จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน ซึ่งได้นำมาประยุกต์ให้เหมาะสม
กับเนื้อหาวิชา วุฒิภาวะของนักเรียน และสภาพแวดล้อมที่โรงเรียน จึงสามารถกำหนดขั้นตอนการจัดทำโครงงานได
้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกเรื่องที่น่าสนใจ
2. เตรียมไปหาแหล่งความรู้
3. เข้าสู่การวางแผนก่อน
4. ทำตามขั้นตอนอย่างสนุกสนาน
5. เขียนรายงานอย่างมั่นใจ
6. นำเสนองานได้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 1 เลือกเรื่องที่น่าสนใจ : ขั้นตอนแรกนี้ผู้เรียนจะต้องเลือกเรื่องที่เขาสนใจ โดยครูจะต้องเป็นผู้กระตุ้นหรือ
จัดกิจกรรมเร้าให้ผู้เรียนคิดเรื่องที่จะทำด้วยความพอใจ หัวข้อของโครงงานอาจได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความ
อยากรู้ อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ ของผู้เรียน ซึ่งเป็นผลได้มาจากการได้อ่านหนังสือ การฟังการบรรยาย การทัศนศึกษา
การได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆในชีวิตประจำวัน
หัวข้อโครงงาน ควรเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจนว่าทำอะไร ควรเน้นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และเกิดประโยชน์
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมไปหาแหล่งเรียนรู้ : ในขั้นนี้ผู้สอนจะต้องจัดเตรียมหรือชี้แนะแหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องใช้
ค้นคว้าหาคำตอบจากเรื่องที่เขาสนใจและสงสัย อาจเป็นประเภทเอกสาร ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ สื่อประเภทโสตทัศน์ วัสดุ
อุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องได้รับรู้ว่ามีแหล่งความรู้ใดบ้าง ได้มองเห็นช่องทางที่จะใช้แหล่งความรู้
นั้น ๆ อย่างไรบ้าง และสามารถกำหนดแนวทางกว้าง ๆ ได้ว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ใช้ทรัพยากรอะไร เพื่ออะไร ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 3 เข้าสู่การวางแผนก่อน : เมื่อผู้เรียนได้กำหนดแนวทางกว้าง ๆแล้ว จะต้องนำแนวทางนั้นมาวางแผนในการ
ทำงานว่าจะทำอะไรก่อนหล้ง โดยการสร้างแผนที่ความคิด แล้วนำมาจัดทำเค้าโครงของโครงงาน กำหนดเป็นหัวข้อ
ต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อโครงงาน ชื่อผู้จัดทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ระยะเวลาดำเนินงาน เหตุผลที่จัดทำโครงาน
วัตถุประสงค์ของการจัดทำ ขั้นตอนการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ และแหล่งความรู้ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
ขั้นตอนที่ 4 ทำตามขั้นตอนอย่างสนุกสนาน : ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้ โดยอยู่ในความ
ดูแลและแนะนำของครูผู้สอน โดยผู้เรียนจะต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ มีการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นระยะ
ว่าทำอะไร ทำอย่างไร ได้ผลอย่างไร เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคได้แก้ไขอย่างไร ผู้เรียนควรฝึกทักษะจากกิจกรรม และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ตามความสนใจ เกิดการเรียนรู้ตามลำดับขั้นโดยการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ได้สนุก
เพลิดเพลินกับการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีความสุข เกิดความภูมิใจในผลงานที่ปรากฎ และสามารถนำความรู้นั้นไปใช้
ได้อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนที่ 5 เขียนรายงานอย่างมั่นใจ : การดำเนินการตามขั้นตอนนี้ เป็นการสรุปการรายงานผลจากการปฏิบัติ
งานที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบแนวคิด วิธีดำเนินงาน ผลที่ได้รับ และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโครงงาน
การเขียนรายงานควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน และครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ อาจกำหนดเป็นหัวข้อต่าง ๆ
หรือรายบท ได้ดังนี้ บทนำ เอกสารที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการศึกษา ผลการศึกษา สรุป และข้อเสนอแนะ รวมทั้ง
ภาคผนวกที่ต้องการนำเสนอในรายละเอียดด้วย
ขั้นตอนที่ 6 นำเสนองานได้อย่างเหมาะสม : นับเป็นขั้ตอนสุดท้ายของการจัดทำโครงงาน เป็นการนำผลการดำเนินงาน
ทั้งหมดมาเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบ โดยเน้นความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ อาจมีลักษณะเป็นเอกสาร รายงาน
ชิ้นงาน แบบจำลอง ฯลฯ ซึ่งสามารถนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การสาธิต
การบรรยาย การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย ฯลฯ
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553
นกกรงหักจุด
การดูเพศนกหัวจุกว่าตัวใดเป็นเพศผู้หรือเพศเมียนั้นหลายท่านได้ตอบมาพอเป็นสังเขปแล้วครับ ซึ่งความชำนาญและประการณ์ในการสังเกตจะไม่แตกต่างกันมากนัก ผมขออนุญาตเสริมตรงนี้บางข้อครับตามประสาคนเคยเดินป่าหานกเหมือนกันคนหนึ่ง
1. นกตัวผู้โครงสร้างโดยส่วนใหญ่จะใหญ่กว่าตัวเมีย ลักษณะนี้ประมาณ 70 เปอร์เซนต์ครับ เพราะเคยมีนกตัวเมียใหญ่ๆให้เห็นเหมือนกัน
2.ลักษณะจุกจะโค้งไปข้างหน้า ส่วนตัวเมียตั้งตรงหรือลู่ไปด้านหลัง แต่ถ้านกตกใจจะลู่ไปข้างหลังเหมือนกันหมดครับ ลักษณะนี้บอกได้ประมาณ 60 เปอร์เซนต์ครับ ( ไม่เหมาะกับการดูนกที่ออกมาจากป่าใหม่ๆ )
3.สีแดงที่ก้นของนกหัวจุกถ้าออกจากป่ามาใหม่ๆบอกได้เลยครับแดงเหมือนกันหมด ใช้วิธีนี้แยกไม่ค่อยได้ผลครับ ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ที่นกเปลี่ยนสีที่ก้นนั้นเนื่องมาจากได้รับสารอาหารไม่เหมือนในธรรมชาติครับ ผมเคยทดลองให้กินมะละกอสุกๆเป็นเวลา 1 เดือนกินติดต่อกันทุกวัน สีที่ก้นก็กลับมาแดงใกล้เคียงกับสีตามธรรมชาติตอนที่พึ่งออกมาจากป่าครับ
4. สีของนกตัวผู้โค่นลิ้นจะมีดำ ส่วนนกตัวเมียจะเหลืองอ่อน , ขาวเหลือง , มีสีดำเล็กน้อย ประมาณ 90 เปอร์เซนต์ครับและจะแยกได้ดีตอนที่เป็นลูกนกเล็กๆครับ ส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้คัดตอนที่นกยังเล็กๆ ประเภทลูกป้อนครับ ลองแหย่ให้นกอ้าปากและดูสีที่โค่นลิ้นเพื่อคัดลูกนกกัน แต่มีนกตัวเมียลิ้นดำหรือดำเกือบหมดก็มีครับ แบบนี้ผมมีอยู่ 2 ตัว เป็นเพศเมียพันธุ์นกที่บ้านครับ
5.ในฤดูผสมพันธุ์กันนกตัวผู้จะมีมุมปีกทั้ง 2 ข้างเป็นสีแดงส้มเข้ม นั้นแสดงว่านกเป็นสัดพร้อมจะผสมพันธุ์ครับ ส่วนตัวเมียจะเป็นสีขาว เหมาะสำหรับคัดนกในฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ได้ผลประมาณ 80 เปอร์เซนต์ ( นกอายุ 2 ปี ขึ้นไปจะชัดเจนครับ )
6.การเป่าหน้าอกนกดู ถ้าเป็นนกตัวผู้จะมีขน 2 ชั้นเวลาเป่าที่หน้าอกจะเห็นขนอ่อนซ้อนอีกหนึ่งชั้น ส่วนตัวเมียจะมีขนชั้นเดียวเป่าแล้วเห็นเนื้อที่หน้าอกเลย ซึ่งเป็นลักษณะของเพศเมียครับ วิธีนี้ 85 เปอร์เซนต์ครับ ( เหมาะสำหรับนกอายุ 2 ปีขึ้นไปจะเห็นชัดครับเพราะเป็นนกที่พร้อมผสมพันธุ์แล้วและผ่านการผลัดขนมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้งครับ )
1. นกตัวผู้โครงสร้างโดยส่วนใหญ่จะใหญ่กว่าตัวเมีย ลักษณะนี้ประมาณ 70 เปอร์เซนต์ครับ เพราะเคยมีนกตัวเมียใหญ่ๆให้เห็นเหมือนกัน
2.ลักษณะจุกจะโค้งไปข้างหน้า ส่วนตัวเมียตั้งตรงหรือลู่ไปด้านหลัง แต่ถ้านกตกใจจะลู่ไปข้างหลังเหมือนกันหมดครับ ลักษณะนี้บอกได้ประมาณ 60 เปอร์เซนต์ครับ ( ไม่เหมาะกับการดูนกที่ออกมาจากป่าใหม่ๆ )
3.สีแดงที่ก้นของนกหัวจุกถ้าออกจากป่ามาใหม่ๆบอกได้เลยครับแดงเหมือนกันหมด ใช้วิธีนี้แยกไม่ค่อยได้ผลครับ ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ที่นกเปลี่ยนสีที่ก้นนั้นเนื่องมาจากได้รับสารอาหารไม่เหมือนในธรรมชาติครับ ผมเคยทดลองให้กินมะละกอสุกๆเป็นเวลา 1 เดือนกินติดต่อกันทุกวัน สีที่ก้นก็กลับมาแดงใกล้เคียงกับสีตามธรรมชาติตอนที่พึ่งออกมาจากป่าครับ
4. สีของนกตัวผู้โค่นลิ้นจะมีดำ ส่วนนกตัวเมียจะเหลืองอ่อน , ขาวเหลือง , มีสีดำเล็กน้อย ประมาณ 90 เปอร์เซนต์ครับและจะแยกได้ดีตอนที่เป็นลูกนกเล็กๆครับ ส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้คัดตอนที่นกยังเล็กๆ ประเภทลูกป้อนครับ ลองแหย่ให้นกอ้าปากและดูสีที่โค่นลิ้นเพื่อคัดลูกนกกัน แต่มีนกตัวเมียลิ้นดำหรือดำเกือบหมดก็มีครับ แบบนี้ผมมีอยู่ 2 ตัว เป็นเพศเมียพันธุ์นกที่บ้านครับ
5.ในฤดูผสมพันธุ์กันนกตัวผู้จะมีมุมปีกทั้ง 2 ข้างเป็นสีแดงส้มเข้ม นั้นแสดงว่านกเป็นสัดพร้อมจะผสมพันธุ์ครับ ส่วนตัวเมียจะเป็นสีขาว เหมาะสำหรับคัดนกในฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ได้ผลประมาณ 80 เปอร์เซนต์ ( นกอายุ 2 ปี ขึ้นไปจะชัดเจนครับ )
6.การเป่าหน้าอกนกดู ถ้าเป็นนกตัวผู้จะมีขน 2 ชั้นเวลาเป่าที่หน้าอกจะเห็นขนอ่อนซ้อนอีกหนึ่งชั้น ส่วนตัวเมียจะมีขนชั้นเดียวเป่าแล้วเห็นเนื้อที่หน้าอกเลย ซึ่งเป็นลักษณะของเพศเมียครับ วิธีนี้ 85 เปอร์เซนต์ครับ ( เหมาะสำหรับนกอายุ 2 ปีขึ้นไปจะเห็นชัดครับเพราะเป็นนกที่พร้อมผสมพันธุ์แล้วและผ่านการผลัดขนมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้งครับ )
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)